การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี[แก้]
ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี (ตามรายนามข้างล่าง) ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2557 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
การถวายสัตย์ปฏิญาณ[แก้]
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557 เวลา 18:03 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่[1]ในการนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณว่า “ข้าพระพุทธเจ้า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อ ประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”[2]
รายชื่อรัฐมนตรี[แก้]
![]() | ![]() | ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี | ![]() | ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี |
![]() | ![]() | แต่งตั้งเพิ่ม | ![]() | เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น |
![]() | ![]() | ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น | ![]() | ออกจากตำแหน่ง |
คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 | ||||||||
ตำแหน่ง | ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |||
นายกรัฐมนตรี | * | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา | ![]() | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | |||
รองนายกรัฐมนตรี | 1 | พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | |||
2 | หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||||
3 | ยงยุทธ ยุทธวงศ์ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||||
4 | พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||||
5 | วิษณุ เครืองาม | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||||
สำนักนายกรัฐมนตรี | ![]() | 6 | หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
![]() | 7 | สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | |||
กลาโหม | ![]() | * | พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
![]() | 8 | พลเอก อุดมเดช สีตบุตร | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | |||
การคลัง | ![]() | 9 | สมหมาย ภาษี | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
การต่างประเทศ | ![]() | * | พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
![]() | 10 | ดอน ปรมัตถ์วินัย | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | |||
การท่องเที่ยวฯ | ![]() | 11 | กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
การพัฒนาสังคมฯ | ![]() | 12 | พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
เกษตรและสหกรณ์ | ![]() | 13 | ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
คมนาคม | ![]() | 14 | พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
![]() | 15 | อาคม เติมพิทยาไพสิฐ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | |||
ทรัพยากรธรรมชาติฯ | ![]() | 16 | พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
ไอซีที | ![]() | 17 | พรชัย รุจิประภา | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
พลังงาน | ![]() | 18 | ณรงค์ชัย อัครเศรณี | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
พาณิชย์ | ![]() | 19 | พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
![]() | 20 | อภิรดี ตันตราภรณ์ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | |||
มหาดไทย | ![]() | 21 | พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
![]() | 22 | สุธี มากบุญ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | |||
ยุติธรรม | ![]() | 23 | พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
แรงงาน | ![]() | 24 | พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
วัฒนธรรม | ![]() | 25 | วีระ โรจน์พจนรัตน์ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
วิทยาศาสตร์ฯ | ![]() | 26 | พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
ศึกษาธิการ | ![]() | 27 | พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
![]() | 28 | กฤษณพงศ์ กีรติกร | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | |||
![]() | 29 | พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | |||
สาธารณสุข | ![]() | 30 | รัชตะ รัชตะนาวิน | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | ||
![]() | 31 | สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน | |||
อุตสาหกรรม | ![]() | 32 | จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช | ![]() | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | ปัจจุบัน |
นโยบาย[แก้]
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557
นโยบายเศรษฐกิจ[แก้]
วันที่ 2 ตุลาคม หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสามเดือนแรก ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2557 ใช้เงินทั้งสิ้น 364,465.4 ล้านบาท ได้แก่ 1. การเร่งใช้เงินลงทุนของปีงบประมาณ 2557 ที่ค้างอยู่ 147,050 ล้านบาท เพื่อสร้างงาน 2. เร่งรัดทำสัญญาจ้างรายจ่ายลงทุนปีงบประมาณ 2558 ทั้งสิ้น 449,475 ล้านบาท เฉพาะในไตรมาสแรกของปีงบประมาณนี้ 149,146 ล้านบาท 3. เป็นมาตรการเร่งลงทุนขนาดเล็กทั่วประเทศ โดยใช้งบจากโครงการไทยเข้มแข็งและงบกลางสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินปี 2555-2557 ที่ยังไม่ได้จัดสรรรวม 23,000 ล้านบาท โดยเน้นการซ่อม สร้าง มากกว่าที่สนองตอบความต้องการของประชาชนจริง ๆ 4. ทบทวนเงินที่กันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี 2548-2556 วงเงิน 24,900 ล้านบาท ให้แต่ละกระทรวงหาวิธีใช้จ่ายเอง หากไม่รู้ให้คืนมาส่วนกลางเพื่อจะเอาไปใช้ในไตรมาสต่อไป และ 5. ช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้ชาวนา วงเงิน 40,000 ล้านบาท โดยจะแจกเงินให้ชาวนาในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ในปีนี้ ส่วนปีต่อไปให้เป็นการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการข้าว เงินที่ให้จะใช้สภาพคล่องของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจ่ายไปก่อน แล้วรัฐบาลจะตั้งงบชดเชยให้ในปีหน้า รองนายกรัฐมนตรียังกล่าวว่า "ที่รัฐบาลใช้เงินรอบนี้ 40,000 ล้านบาท ก็ดีกว่าไปขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวปีละ 250,000 ล้านบาท และทำแค่ปีเดียวเท่านั้น ไม่เรียกว่าเป็นโครงการประชานิยม เพราะไม่ได้ต้องการคะแนนเสียง ตอนนี้ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ"[3]
นโยบายทางทูต[แก้]
วันที่ 30 กันยายน 2557 มีแหล่งข่าวทางทูตว่า ความปรารถนาชัดแจ้งและดิ้นรนที่จะได้การรับรองจากตะวันตกผลักดันให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสวงการให้สัญญาณเชิงสัญลักษณ์มากกว่าการริเริ่มที่มีแก่นสาร ความผิดหวังกับวิธีที่กองทัพจัดการการทูตหลังรัฐประหารยังมาจากผู้ที่คัดค้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บุคคลเหล่านั้นรู้สึกว่ากองทัพล้มเหลวในความพยายามให้ความเชื่อมั่นแก่ชุมชนระหว่างประเทศในการวางผังสิ่งที่ประเทศไทยมีแผนทำในปีสองปีข้างหน้า
การเดินทางเยือนประเทศจีนอย่างใหญ่โต รวมทั้งสมาชิกครอครัวที่นั่งเครื่องบินพิเศษไป ทำให้เห็นว่า กองทัพไทยขาดความรู้หรือความละเอียดอ่อนในการติดต่อกับโลก โดยการแสดงความหวังลม ๆ แล้ง ๆ ว่า พลเอกธนะศักดิ์สามารถสัมผัสมือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา จอห์น เคอร์รี ที่สมัชชาใหญ่สหประชาชาติหรือที่การประชุมสหรัฐ-อาเซียนในสมัยประชุมสหประชาชาติ แหล่งข่าวว่า "ฉะนั้นเมื่อคุณเคอร์รีไม่แสดงท่าทีผิวเผินและสัมผัสมือกับพลเอกธนะศักดิ์ดังที่ฝ่ายไทยต้องการ จึงกลายเป็นประเด็น เรากำลังเสียหน้า"
แหล่งข่าวกระทรวงการต่างประเทศอีกแหล่งหนึ่งว่า พลเอกธนะศักดิ์พาดพิง "ประชาธิปไตย" 13 ครั้งในสุนทรพจน์เขา ขณะที่ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามาพาดพิงเจ็ดครั้ง และนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เดวิด แคเมอรอนพาดพิง 10 ครั้ง การอ้างถึงประชาธิปไตยบ่อยครั้งกลายเป็นเรื่องขบขันในบรรดาสมาชิกชุมชนทางทูต ข้าราชการว่า "โชคดีที่ไม่มีคนไทยประท้วงต่อต้านรัฐประหารระหว่างพลเอกธนะศักดิ์อยู่ในนิวยอร์ก หาไม่แล้วคงเป็นเหตุการณ์น่าอดสูอย่างแท้จริง"
วัลเดน เบลโล (Walden Bello) รองประธานสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน ว่า "พลเอกพูดถึงความจำเป็นสำหรับ "การเคารพหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม" โดยชัดเจนว่าไม่ตระหนักถึงการแฝงนัยลึก เหล่านี้เป็นสิ่งที่ระบอบทหารและผู้สนับสนุนในประเทศไทยเพิกเฉยและทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อบั่นทอนทำลายเป็นเวลาแปดปีมาแล้ว"[4]
วันที่ 1 ตุลาคม 2557 คณะรัฐมนตรีอนุมัติเห็นชอบดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสประชาชาติที่ 2141 (ปี 2557) เกี่ยวกับการให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือและคณะผู้เชี่ยวชาญภายใต้คณะกรรมการคว่ำบาตร[5]
ข้อวิจารณ์[แก้]
วันที่ 2 ตุลาคม 2557 พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ฝ่ายเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการแจกเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาทว่า "ผมไม่อยากให้รัฐบาลรังเกียจนโยบายประชานิยม อย่ามองว่าเป็นสิ่งไม่ดี เพราะสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ก็เป็นประชานิยม แต่เป็นประชานิยมแบบกล้า ๆ กลัว ๆ เพราะกลัวว่าจะถูกกล่าวหาว่าทำนโยบายประชานิยม จึงทำให้การช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะชาวนาทำได้ไม่เต็มที่ เขายังคงเดือดร้อนอยู่ เพราะเงินที่ใส่ลงไปไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุนค้าใช้จ่ายในการทำนา"[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ครม.ประยุทธ์เข้าเฝ้าถวายสัตย์ ในหลวง
- ↑ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่
- ↑ 4หมื่นล.แจกชาวนา ไร่ละพัน กระตุ้นเศรษฐกิจ
- ↑ Tanasak the odd man out on world stage
- ↑ จุดยืนไทย! ครม.อนุมัติ คว่ำบาตร "เกาหลีเหนือ" ตามข้อเสนอยูเอ็น
- ↑ "พิชัย" ชี้ รบ.แจกไร่ละพัน ก็เป็นประชานิยม "แต่เป็นแบบกล้าๆกลัวๆ" จวก แก้ไม่ตรงจุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น